รีวิวงานประกาศรางวัล สุดยอดร้านค้า Priceza E-Commerce Awards 2017
เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเราได้มีโอกาสไปร่วมงานของทางเวบไซต์ Priceza.com เวบเปรียบเทียบราคาที่เรารู้จักกันดี ได้จัดงาน PricezaE-CommerceAwards 2017
ซึ่งเราในฐานะที่ทำงานอยู่ในแวดวงออนไลน์อยู่แล้ว และสนใจธุรกิจออนไลน์ เป็นทุนเดิม จึงไม่รอช้า ที่จะลงทะเบียนเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในงานของเขาโดยทันที
ซึ่งปีนี้จัดได้เป็น ปีที่ 2 แล้วเมื่อวันพุธที่ผ่านมา ณ โรงละครอักษรา คิงเพาเวอร์
ภายใต้คอนเซปต์ “THE NEXT EPISODE” นอกจากจะเป็นงานประกาศผลรางวัลอันโดดเด่นให้แก่แบรนด์และร้านค้าต่างๆของวงการ e-Commerce ด้านต่างแล้ว แล้ว ยังได้อัพเดทเทรนด์การเติบโตของธุรกิจปี 2018 จากกูรู ระดับประเทศหลากหลายวงการ ถึง 3 หัวข้อหลักๆ นั่นก็คือ
1.e-Commerce and The Future of Retail 2018 - ทิศทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย
2.e-Logistics – Trends
to Follow - แนวโน้มระบบอีโลจิสติกส์ในอนาคต
3.e-Payment – The Present & Future - สถานการณ์ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน
เปิดงานมาด้วย คุณไว ธนาวัฒน์ มาลาบุปผา CEO และ Co-Founder ของ Priceza ที่เล่าให้ฟังถึงประวัติความเป็นมาของเวบไซต์ไพรซ์ซ่าตั้งแต่เริ่มต้น รวมถึงเป้าหมายในปี 2018 จากข้อมูลที่คุณไวได้แชร์มาสิ่งที่เป็นข้อมูลที่น่าสนใจเลย คือ
ช่องทางหลักที่นำ Traffic ผู้ใช้เข้าสู่เว็บ E-Commerce ชั้นนำ ได้แก่ Direct, E-mail, Google Search, Facebook และ Priceza ส่วนช่องทางหลักๆ ที่คนไทยซื้อสินค้าออนไลน์มีอยู่ 3 ช่องทางได้แก่ Social Media E-Market
Place และ Online Retailer
ในปี 2018 จำนวนนักช็อปออนไลน์น่าจะเพิ่มมากขึ้น จากที่ช็อปออฟไลน์ก็จะหันมาใช้ออนไลน์กันมากขึ้น จากปัจจัยบวกหลายๆอย่างๆ ทั้งการสนับสนุนของภาครัฐ ความสำคัญกับเรื่องอีเพย์เมนท์และฟินเทคของธนาคารและภาคธุรกิจด้านการเงิน ตลอดจนนวัตกรรมใหม่ๆ ในแวดวงอีโลจิสติกส์
คนไทยยังนิยมใช้ Destop ในการตัดสินใจซื้อสิ้นค้าออนไลน์มากกว่า Smartphone จากข้อมูลของ Priceza ที่ปกติมีผู้ใช้ กว่า 70% จะเข้าใช้ Priceza
ผ่านสมาร์ทโฟนก็จริง แต่ยอดเฉลี่ยคนที่ช็อปผ่าน Destop สูงกว่าถึง 70% เนื่องจาก Desktop ยังสามารถหาข้อมูลได้สะดวกกว่า
จากสถิติจำนวนครั้งของผู้ใช้บริการ Priceza ตลอดทั้งปี 2560 กว่า พบว่า หมวดสินค้าที่ได้รับความนิยมสูงสุดบน Priceza
ได้แก่ หมวดเสื้อผ้าและแฟชั่น โทรศัพท์และอุปกรณ์สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้า รถและยานพาหนะ
ตามลำดับ
เข้าสู่หัวข้อเสวนาเรื่อง
ทิศทางอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยในปี 2018 ได้คุณผรินทร์ Nasket, คุณยุทธนา Tesco Lotus, คุณศิวัตร MGroup, คุณยุทธยา Shopee และคุณธนาวัฒน์ Priceza มาร่วมให้ข้อมูลที่น่าสนใจตามนี้
การลงทุนแข่งขันของ E-Commerce ทำให้ผู้บริโภคตื่นตัวและมั่นใจ E-Commerce มากขึ้นในปีหน้า และในหลายๆเจ้าจะมีการโปรโมทตัวเองในช่องทางออฟไลน์มากขึ้น เพื่อดึงลูกค้าหน้าใหม่ให้ไปใช้บริการของคนเอง
Data หรือข้อมูลของลูกค้าเป็นเรื่องสำคัญ เพราะข้อมูลนำไปวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อหา Solutions ที่ตอบโจทย์ธุรกิจขึ้น
ผู้ประกอบการรายเล็กหรือ SME ควรหาตลาดกลุ่มลูกค้าของตนเองให้เจอและให้ชัดเจน ไม่จำเป็นต้องไปสู้กับเจ้าใหญ่เสมอไป เปรียบเหมือนการเป็น “ปลาใหญ่ในบ่อเล็ก”
ช่องทางไหนซื้อขายง่ายสุด ผู้บริโภคส่วนใหญ่จะเลือกช่องทางนั้น ผู้บริโภคไม่ได้มีเวลาในการเลือกซื้อสินค้ามากนัก และพฤติกรรมผู้บริโภคจะยึดติดกับส่วนลดมากขึ้น ถ้าเจ้าไหนส่วนลดน้อย ผู้บริโภคอาจจะมองหาตัวเลือกอื่น
ในส่วนของ แนวโน้มระบบอีโลจิสติกส์ในอนาคต มีคุณสุทธิเกียรติ Shippop, คุณสันทิต Lalamove และคุณโยจิ SCG Express มาให้ข้อมูลที่น่าสนใจตามนี้
ผู้ประกอบการไม่จำเป็นต้องมีขนส่งเป็นของตัวเอง เพราะเดี๋ยวนี้มีบริการ Logistics ที่หลากหลายรูปแบบมากขึ้น แต่ต้องเลือก บริการ Logisticsที่เหมาะสมกับ Product หรือความต้องการของลูกค้าตัวเองเป็นหลัก เช่น ต้องการส่งของทันทีใช้ Lalamove แต่ถ้า ส่งของในวันถัดไปอาจจะใช้ Kerry หรือ SCG Express, ส่งของไปต่างจังหวัดทันทีก็ใช้รถตู้หรือรถทัวร์ ผู้บริโภคและผู้ประกอบการควรเลือกให้เหมาะสม เพื่อให้ประหยัดเงินและส่งได้รวดเร็ว
E-Commerce รายใหญ่ให้ความสำคัญกับ Logistics มากขึ้น เพราะการส่งสินค้าได้รวดเร็ว ก็มีส่วนทำให้ผู้บริโภคกลับมาซื้อสินค้ากับ E-Commerce เจ้านั้นอีกครั้ง ในเรื่องของการให้บริการ ก็เป็นสิ่งสำคัญ อย่าง SCG Express นี่เป็นขนส่งที่เป็นหุ้นส่วนมาจากทางประเทศญี่ปุ่น ซึ่งอย่างที่เรารู้ดีในเรื่องของความเพอร์เฟคบ้านเขา ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ เวลาและมารยาท ส่วนตัวยังไม่เคยลอง แต่ได้ฟังทัศนวิสัยของคุณโยชิ แล้วอยากสั่งสินค้าโดยใช้ Logistics นี้ขึ้นมาทันที
สุดท้ายในหัวข้อ สถานการณ์ระบบการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์ในปัจจุบัน
มีคุณธนานันท์ Ascend Commerce คุณศุภวิทย์ AirPay, คุณกิตติพงศ์ AIS mPAY, คุณสมหวัง PayPal และคุณสมคิด KBTG มาให้ข้อมูลที่น่าสนใจ ตามนี้
ระบบ E-Payment เป็นขั้นตอนสุดท้ายของกระบวนการซื้อสินค้าผ่านระบบ E-Commerce ถึงจะมีสินค้าที่ดี การส่งสินค้าที่ดี แต่ระบบ E-Payment ไม่ดี ผู้บริโภคก็ไม่ใช้ E-Commerce รายนั้นเลยก็มี
จีนคือผู้กระตุ้นให้ E-Wallet เกิดการใช้งานที่แพร่หลายขึ้นในเอเชีย เพราะเปิดให้ Non-Banks เข้ามาสู่ตลาดเพื่อทำ E-Wallet ได้ ตอนนี้จีนมีผู้ใช้เงินสดแค่ 25 %เท่านั้น
เรามีแนวโน้มเป็นแบบจีนได้ เพราะหลายธนาคารในไทยเริ่มทำแล้ว แต่ในไทยตอนนี้ยังใช้การจ่ายเงินสด หรือ Cash สูงถึง 70% ส่วน E-Payment ยังมีการใช้งานอยู่ที่ 30% น่าจะต้องใช้เวลาอีกสักพัก
สำหรับเจ้าหนี้ อยากให้ติดตามฟีเจอร์ใหม่ ๆ จาก PromptPay ของธนาคารแห่งประเทศไทยที่จะมาในปีหน้า จะช่วยให้ผู้ประกอบการ E-Commerce และประชาชนทั่วไปสะดวกสบายยิ่งขึ้น เช่น สามารถส่งคำร้องให้อีกฝั่งจ่ายเงินได้ โดยที่ไม่ต้องคอยทวงตาม ชอบตรงนี้ อิอิ
ลูกค้าที่เคยใช้การจ่ายเงินผ่านธนาคาร จะเปลี่ยนมาใช้ QR Code และ PromptPay มากขึ้น
และนี่คือประเด็นหลักที่เรามองว่าน่าสนใจที่จะมาเป็นข้อมูลให้สำหรับผู้ที่กำลังทำธุรกิจอยู่แล้ว หรือ อาจจะกำลังเริ่ม หวังว่าข้อมูลเหล่านี้คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยนะคะ
นอกจากนี้มีการประกาศผลรางวัล แก่ผู้ที่ได้รับการคัดเลือกและการโหวตว่าเป็นสุดยอดในแวดวงอีคอมเมิร์ซด้านต่างๆ
เช่น
รางวัล Most Trusted Brand - Apple
รางวัล Most Popular Brand - Samsung
รางวัล Top Retailer - ShopAt24 และ Central
รางวัล Top Marketplace - Lazada และ Shopee
ลองเข้าไปดูเพิ่มเติม https://www.priceza.com/priceza-awards-2017
สำหรับใครที่อยากจะเข้าร่วมในโอกาสหน้าลองติดตามกันได้ที่
ไว้คราวหน้ามีข้อมูลอะไรดี จะเอามาฝากกันอีกน้า
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น